ดร.นิเวศน์ สะท้อนชีวิต กับ ศาสตร์ลงทุน สไตล์วีไอ

ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร กูรูนักลงทุนวีไอ สะท้อนมุมมองชีวิต กับ ศาสตร์และศิลป์ในมุมการลงทุน แนะ “ดีเลิศหรือเลวร้ายต่างก็เป็นเรื่องชั่วคราว”

การเงิน ชี้นักลงทุนระยะยาวต้องมองความสามารถในการแข่งขันของหุ้นที่จะผ่านภาวะเลวร้ายต่าง ๆ ไปได้ และอาจฉวยโอกาส “ทำกำไรเพิ่มเติมในภาวะชั่วคราว”วันที่ 18 ธันวาคม 2565 ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร นักลงทุนเน้นคุณค่า (Value Investor) เปิดเผยว่า ช่วงเร็ว ๆ นี้ ผมและสมาชิกในครอบครัวซึ่งมี 7 คนรวมถึงเด็กอายุเพียง 2 เดือนต่างก็เจ็บป่วยเป็นโรคเกี่ยวกับไวรัสที่ติดต่อกันได้ง่ายมากผมเองเริ่มจากโควิด หลังจากหายได้ประมาณเดือนสองเดือนก็ติด RSV ซึ่งก็เป็นโรคหวัดอีกแบบหนึ่งที่ติดกันได้ง่ายมากพอ ๆ กับโควิด แต่อาการไม่รุนแรงเท่า อย่างไรก็ตามทั้งสองโรคกว่าจะหายก็ใช้เวลาเป็นประมาณ 10 วัน และยังมีผลข้างเคียงตามมาอีกหลายวัน รวมแล้วเป็นเดือนที่ต้องทรมานอยู่กับโรค ช่วงที่เป็นนั้น ผมก็ได้แต่คิดว่า บางทีโลกเราอาจจะ “เปลี่ยนไปจากอดีต” เราอาจจะต้องผจญกับการติดโรคที่สามารถติดต่อกันทางอากาศและการสัมผัสได้ง่ายขึ้นมาก การท่องเที่ยวหรือพบปะผู้คนใกล้ชิดอาจจะทำไม่ได้เหมือนเดิม การติดเชื้อหรือเป็นโรคซ้ำอาจจะทำให้อาการหนักขึ้นจนเป็นอันตรายอย่างที่ “ผู้เชี่ยวชาญ” พูดกัน ครอบครัวที่อยู่กันถึง 7 คนไม่รวมพี่เลี้ยงเด็กและแม่บ้านอย่างบ้านผมก็ยิ่งมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นทวีคูณ ไม่สนุกเลยแต่ความคิดแบบนั้นจะเป็นจริงหรือ? โลกเปลี่ยนไปแล้วจริงหรือเปล่า? โควิด-19 จะอยู่กับเราและเราจะติดได้ง่าย ๆ และเป็นอันตรายเพิ่มเมื่อติดซ้ำและถ้าเป็นหลายครั้งเข้าอาการของเราจะหนักขึ้นจนอาจจะต้องตายในที่สุดหรือ? พูดตามตรง ผมก็ไม่รู้

ดร.นิเวศน์ สะท้อนชีวิต กับ ศาสตร์ลงทุน สไตล์วีไอ

แต่ถ้ามองย้อนหลังกลับไปในประวัติศาสตร์ตั้งแต่ผมเกิดมา โอกาสที่เราจะอยู่ในสถานการณ์แบบนั้นยาวนานก็น่าจะมีน้อยมาก

แม้แต่ปรากฎการณ์ไข้หวัดสเปนเมื่อ 100 ปีที่แล้วที่คนตายเป็นล้าน ๆ คนและมนุษยชาติ ข่าวการเงิน ก็ไม่รู้ว่าจะแก้ไขหรือป้องกันอย่างไรก็หายไปจากโลกในเวลาไม่นาน ดังนั้นสิ่งที่ผมกลัวหรือกังวลคงจะเกิดขึ้นเพราะผมกำลังประสบกับความเลวร้าย “ในขณะนั้น” ซึ่งก็มักจะทำให้จิตใจคิดว่า “มันจะเป็นแบบนั้นตลอดไป”จิตวิทยาของนักลงทุนก็เช่นเดียวกัน เมื่อเกิดเหตุการณ์ที่รุนแรงและเจ็บปวด “เป็นปี” อย่างเรื่องอัตราเงินเฟ้อหรือดอกเบี้ยที่ปรับตัวขึ้นสูงต่อเนื่อง ถึงวันหนึ่งเขาก็จะคิดว่ามันจะเป็นอย่างนั้น “ตลอดไป” และหุ้นก็จะต้องตกต่อเนื่องไปอีกนาน ว่าที่จริงวันที่เขาคิดนั้น หุ้นอาจจะตกลงไปหลายสิบเปอร์เซ็นต์แล้ว ซึ่งก็ทำให้เขาบาดเจ็บอย่างหนักและอาจจะเป็นเหตุผลที่ทำให้เขาคิดว่าเงินเฟ้อและดอกเบี้ยจะอยู่ต่อไปอีกนาน สภาพคล่องจะหายไป และหุ้นก็จะถูกขายและตกลงมาอย่างไม่รู้ว่าจะถึงพื้นตอนไหนแต่ถ้าดูจากประวัติศาสตร์ตลาดหุ้น มองย้อนหลังไปเกือบ 50 ปีในตลาดหุ้นไทยและกว่าร้อยปีในตลาดหุ้นอเมริกาก็จะพบว่า ในที่สุดบางทีแค่ 2-3 ปี เงินเฟ้อและอัตราดอกเบี้ยก็ลดลงมาและตลาดหุ้นก็ปรับตัวขึ้นอย่างรวดเร็ว น้อยครั้งที่เงินเฟ้อและอัตราดอกเบี้ยจะสูงอยู่นานมาก ว่าที่จริงธนาคารกลางสหรัฐก็คงไม่ยอมให้เป็นอย่างนั้น เพราะจะทำให้เศรษฐกิจพังพินาศดังนั้น อัตราดอกเบี้ยและเงินเฟ้อที่สูงขึ้นผิดจาก “ปกติ” มากนั้น เป็นเรื่อง “ชั่วคราว” นักลงทุน “ระยะยาว” ที่มักจะลงทุนในหุ้นแต่ละตัวหรือลงทุนเป็นพอร์ตระยะยาวเกิน 3-5 ปี ขึ้นไปนั้น จึงแทบไม่ต้องสนใจว่าเงินเฟ้อและดอกเบี้ยจะเป็นเท่าไร เพราะเราจะถือหุ้นผ่านช่วงเงินเฟ้อและดอกเบี้ยที่สูงกว่าปกติไปอยู่แล้ว และก็แน่นอนว่ามักจะผ่านช่วงที่ตลาดหุ้นตกต่ำเพราะเงินเฟ้อและดอกเบี้ยที่สูงกว่าปกตินั้นด้วย