ตุรกีจับผู้ต้องสงสัยวางระเบิดอิสตันบูล คาดเกี่ยวข้องกลุ่มติดอาวุธชาวเคิร์ด

ตำรวจตุรกีจับกุมผู้ต้องสงสัยก่อเหตุวางระเบิดกลางนครอิสตันบูลได้แล้ว คาดเป็นฝีมือกลุ่มติดอาวุธชาวเคิร์ด

ทันโลกข่าวต่างประเทศ ขณะผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้นเป็นอย่างน้อย 8 ราย และได้รับบาดเจ็บ 81 รายสำนักข่าวต่างประเทศรายงานความคืบหน้าเหตุการณ์ระเบิดสะเทือนขวัญบริเวณย่านช็อปปิ้งยอดนิยม บนถนนอิสติกลัล ใกล้กับจัตุรัสทักซิม ใจกลางนครอิสตันบูล ประเทศตุรกี เมื่อวันอาทิตย์ (13 พ.ย.) ล่าสุด เจ้าหน้าที่กระทรวงมหาดไทยของตุรกีเปิดเผยว่า ผู้เสียชีวิตจากเหตุระเบิดเพิ่มขึ้นเป็นอย่างน้อย 8 ราย และมีผู้ได้รับบาดเจ็บอีกไม่ต่ำกว่า 81 ราย โดยผู้ได้รับบาดเจ็บราว 50 รายมีอาการบาดเจ็บเล็กน้อยและสามารถออกจากโรงพยาบาลได้แล้ว คงเหลืออีกราว 31 รายที่ยังรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาล ซึ่ง 2 รายในจำนวนนี้มีอาการสาหัส เหตุการณ์ระเบิดเกิดขึ้นเมื่อเวลา 16.13 น. ตามเวลาท้องถิ่น ในขณะที่ประชาชนหลายร้อยคนกำลังจับจ่ายใช้สอยกันอย่างคึกคักในวันหยุดสุดสัปดาห์ โดยภาพจากกล้องวงจรปิดและวิดีโอที่เผยแพร่บนโซเชียลมีเดีย เผยให้เห็นภาพเปลวไฟจากแรงระเบิดและเสียงดังสนั่น ก่อนที่ประชาชนจะวิ่งหนีเอาตัวรอดไปคนละทิศละทาง ไม่กี่ชั่วโมงหลังเกิดเหตุ รองประธานาธิบดีฟูอาต ออกเตย์ ของตุรกี ได้เดินทางลงพื้นที่เพื่อตรวจสอบเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น พร้อมกับให้คำมั่นว่ารัฐบาลจะเร่งสืบสวนหาความจริงให้เร็วที่สุด ด้านประธานาธิบดี เรเจป ไตยิป แอร์โดอัน แถลงก่อนเดินทางไปร่วมการประชุม G20 อินโดนีเซียว่า มีข้อบ่งชี้ว่าเหตุระเบิดที่เกิดขึ้นเป็นการก่อการร้าย และอาจมีผู้หญิงเข้ามาเกี่ยวข้องกับการโจมตี พร้อมกับประกาศว่า ผู้ที่มีส่วนรับผิดชอบทั้งหมดจะต้องถูกลงโทษ โดยจากการคาดการณ์ คาดว่ามือระเบิดมีความเป็นไปได้ที่จะเป็นผู้หญิงรายหนึ่ง ตามที่ เบกีร์ บอซดัก รัฐมนตรีกระทรวงยุติธรรมตุรกีเปิดเผยกับสถานีโทรทัศน์ A Haber ว่า จากการตรวจสอบกล้องวงจรปิด พบหญิงต้องสงสัยรายหนึ่งนั่งอยู่บริเวณม้านั่งตรงจุดเกิดเหตุนานกว่า 40 นาที ก่อนที่เธอจะลุกออกไป และไม่กี่นาทีหลังจากนั้นก็เกิดระเบิดขึ้นขณะที่สุไลมาน ซอยลู รัฐมนตรีกระทรวงมหาดไทยตุรกี ออกมาแถลงในวันนี้ (14 พ.ย.) ว่า ตำรวจได้ควบคุมตัวผู้ต้องสงสัยก่อเหตุวางระเบิดที่ถนนอิสติกลัลไว้ 22 ราย รวมถึงผู้ที่คาดว่าจะเป็นมือระเบิดด้วย

ตุรกีจับผู้ต้องสงสัยวางระเบิดอิสตันบูล คาดเกี่ยวข้องกลุ่มติดอาวุธชาวเคิร์ด

อย่างไรก็ตาม จนถึงขณะนี้ยังคงไม่มีกลุ่มใดออกมาอ้างความรับผิดชอบต่อเหตุการณ์นี้ แต่ผู้ก่อเหตุโจมตีครั้งนี้ถูกมุ่งเป้าไปที่พรรคแรงงานเคอร์ดิสถาน (PKK)

ซึ่งเป็นกลุ่มแบ่งแยกดินแดนชาวเคิร์ดที่เคลื่อนไหวอยู่ทางตอนเหนือของอิรักและตะวันออกเฉียงใต้ของตุรกี ทันโลกข่าวต่างประเทศ และถูกตีตราจากรัฐบาลตุรกี สหภาพยุโรป และสหรัฐฯ ว่าเป็นกลุ่มก่อการร้ายในอดีตที่ผ่านมานครอิสตันบูลและเมืองใหญ่ๆ ของตุรกี มักจะตกเป็นเป้าโจมตีของกลุ่มติดอาวุธชาวเคิร์ด กลุ่มติดอาวุธอิสลามิสต์ และกลุ่มหัวรุนแรงอื่นๆ อย่างต่อเนื่อง โดยในช่วงปี 2558-2560 ได้เกิดการโจมตีขึ้นหลายครั้ง รวมถึงเหตุการณ์ใหญ่อย่างการลอบวางระเบิดนอกสนามฟุตบอลในนครอิสตันบูลเมื่อเดือน ธ.ค. 2559 ทำให้มีผู้เสียชีวิตในครั้งนั้นถึง 38 ราย และได้รับบาดเจ็บ 155 ราย ซึ่ง PKK ออกมาอ้างว่าเป็นผู้อยู่เบื้องหลังการก่อเหตุ การประชุม G20 ซึ่งกำลังจะเปิดฉากขึ้นในอินโดนีเซีย มีอีกวาระสำคัญที่ต้องจับตา คือการพบกันตัวต่อตัวระหว่าง โจ ไบเดน ประธานาธิบดีสหรัฐฯ และ สี จิ้นผิง ประธานาธิบดีจีน ก่อนที่การประชุมจะเริ่มขึ้นในวันจันทร์นี้ (14 พ.ย.) การพบหน้ากันระหว่างไบเดนและสี เกิดขึ้นหลังจากที่ผู้นำทั้งสองเคยหารือผ่านโทรศัพท์กันมาแล้ว 5 ครั้ง นับตั้งแต่ที่ไบเดนเข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐฯ เมื่อต้นปี 2564 และเกิดขึ้นในขณะที่ความสัมพันธ์ระหว่างจีนและสหรัฐฯ ตกต่ำลงจนถึงขีดสุด หลังจากนางแนนซี เพโลซี ประธานสภาผู้แทนสหรัฐฯ เดินทางเยือนไต้หวัน เมื่อเดือน ส.ค. ที่ผ่านมา การเดินทางเยือนไต้หวันของนางเพโลซีได้สร้างความไม่พอใจให้กับจีน ซึ่งมองว่าเป็นการละเมิดอำนาจอธิปไตยและบูรณภาพแห่งดินแดนของจีน นำไปสู่การตอบโต้โดยการซ้อมรบด้วยกระสุนจริงรอบเกาะไต้หวัน ทำให้สถานการณ์ในช่องแคบไต้หวันลุกเป็นไฟ ในขณะที่สหรัฐฯ เองก็ไม่อยู่เฉย ออกมาตรการควบคุมการส่งออกชิปเซมิคอนดักเตอร์ และอุปกรณ์ผลิตชิปไปยังจีน ยิ่งการเติมเชื้อไฟให้สถานการณ์ย่ำแย่ลง