บพท. ผนึก 26 มหาลัย เร่งปั้น ‘นวัตกรชุมชน’ ขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานราก

บพท. ร่วมกับ 26 มหาวิทยาลัย นำความรู้และงานวิจัยต่อยอดสู่เชิงพาณิชย์ พร้อมเร่งปั้น “นวัตกรชุมชน” ใช้ผู้ประกอบการขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานราก
กิตติ สัจจาวัฒนา ผู้อำนวยการหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) ชี้แจงผลลัพธ์การดำเนินการแผนงานวิจัย “ชุมชนนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน” ในห้วงปีงบประมาณ 2563 ต่อเนื่องถึงปีงบประมาณ 2565

เทคโนโลยี ซึ่งเป็นห้วงเวลาที่ประเทศไทยเผชิญกับมรสุมเศรษฐกิจ และสถานการณ์การแพร่ระบาดอย่างรุนแรงของโควิด-19 ว่า แผนงานวิจัยดังกล่าวบรรลุเป้าหมายเป็นอย่างดีในการนำนวัตกรรม องค์ความรู้ และเทคโนโลยีที่เหมาะสม ไปสร้างความเข้มแข็งและยกระดับเศรษฐกิจฐานราก ตลอดจนคุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อมให้กับประชาชนในหลายพื้นที่ ทำให้ประชาชนสามารถนำองค์ความรู้และนวัตกรรมจากงานวิจัยไปใช้ในการบริหารจัดการปัญหาได้ด้วยตนเอง สามารถพึ่งตนเองได้อย่างยั่งยืนบพท. ผนึก 26 มหาลัย เร่งปั้น ‘นวัตกรชุมชน’ ขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากความสำเร็จของแผนงานวิจัยชุมชนนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน เกิดขึ้นจากความร่วมมือกันอย่างดีระหว่าง บพท.กับคณาจารย์ คณะนักวิจัยจากสถาบันอุดมศึกษา 26 แห่ง โดยมีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี เป็นแกนหลัก ซึ่งส่งผลให้เกิดชุมชนนวัตกรรมขึ้นใน 753 ตำบล ครอบคลุมพื้นที่ 35 จังหวัดทั่วประเทศเกิดการสร้างนวัตกรชุมชน 3,476 คน และเทคโนโลยีตลอดจนนวัตกรรมพร้อมใช้ รวมทั้งนวัตกรรมกระบวนการ สำหรับการแก้ปัญหาระดับชุมชนมากกว่า 860 นวัตกรรม ทั้งนี้ นวัตกรชุมชนกว่า 3,476 คน เป็นผลลัพธ์จากการดำเนินการตามแผนงานวิจัยชุมชนนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน“ในช่วงปีงบประมาณ 2563-2565 ยังมีส่วนอย่างสำคัญในการพลิกฟื้นมูลค่าเศรษฐกิจฐานราก และมูลค่าสินค้าผลิตภัณฑ์ชุมชนให้ขยายตัวเพิ่มขึ้นได้ถึงร้อยละ 10-20 อีกทั้งยังเกิดการนำนวัตกรรมเข้าสู่การทำแผนพัฒนาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหลายระดับ ผ่านกลไกกระบวนการเรียนรู้ (Learning and Innovation Platform-LIP) และเกิดการสร้างระบบข้อมูลด้านเทคโนโลยีรวมทั้งข้อมูลด้านนวัตกรรมระดับประเทศด้วย”

บพท. ผนึก 26 มหาลัย เร่งปั้น ‘นวัตกรชุมชน’ ขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานราก

บพท. ผนึก 26 มหาลัย เร่งปั้น ‘นวัตกรชุมชน’ ขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานราก บพท.ร่วมกับสถาบันการศึกษา ชุมชนราชการท้องถิ่น ทำการวิจัยและพัฒนาเศรษฐกิจบนทุนวัฒนธรรม และพบว่าได้ผลดี เกิดผู้ประกอบการวัฒนธรรมขึ้นมาแล้ว 6,000 ราย ทำให้ชุมชนมีรายได้ถึง 200 ล้านบาท

“ตลาดชุมทางทุ่งสง หรือหลาดชุมทางทุ่งสง ถือเป็นสิ่งที่ประสบความสำเร็จ มีร้านค้าประมาณ 250 ร้าน เปิดจำหน่ายทุกวันอาทิตย์ ตั้งแต่บ่ายสามโมง ถึงสามทุ่ม แต่ละวันมีพี่น้องประชาชน มาจับจ่ายซื้อของจำนวนมาก จนเป็นต้นแบบในการพึ่งพาตนเอง เพราะเปิดต่อเนื่องมาแล้วกว่า 5 ปี ซึ่งสามารถสร้างอาชีพและรายได้ให้กับพี่น้องประชาชนในพื้นที่” กิตติ กล่าววารุณี อริยวิริยะนันท์ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี กล่าวเสริมว่า ผลงานความสำเร็จของการดำเนินการแผนงานวิจัยชุมชนนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน ของปีงบประมาณ 2563-2565 ได้ถูกประมวลมาจัดแสดงในงานชุมชนนวัตกรรมแห่งการเรียนรู้ภายในงานมีการจัดแสดงนิทรรศการผลงานวิจัยที่ได้รับการสนับสนุนทุนวิจัยจาก บพท.จำนวน 15 ชุดโครงการ ครอบคลุมพื้นที่ทั่วทุกภาคของประเทศ เช่น โครงการพัฒนาชุมชนนวัตกรรมด้วยการยกระดับศักยภาพด้านการท่องเที่ยวนโยบายสาธารณะ วิสาหกิจชุมชน และผลิตภัณฑ์ชุมชน โดยมหาวิทยาลัยพะเยาการยกระดับเศรษฐกิจฐานรากด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยีภายใต้บริบทชุมชน “เขา ป่า นา เล” ในพื้นที่จังหวัดตรังและจังหวัดนครศรีธรรมราช โดยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย และการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากและต้นแบบแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างยั่งยืนด้วยนวัตกรรมพร้อมใช้และนวัตกรชุมชน โดยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน เป็นต้น“บพท. ข่าวเทคโนโลยี ส่งเสริมงานวิจัยเพื่อแก้ปัญหาทั้งในเชิง issue และ area เช่นการพัฒนาธุรกิจชุมชนเพื่อส่งเสริมธุรกิจอย่างใดอย่างหนึ่ง และการพัฒนาภาพรวมของพื้นที่ เช่น smart city เป็นการยกระดับศักยภาพของทั้งพื้นที่ ทำให้เรามั่นใจว่าแนวทางที่ยึดโยงความต้องการในพื้นที่ เป็นทางออกสำหรับการเปลี่ยนผ่านประเทศไทย”

แนะนำข่าวเทคโนโลยี อ่านเพิ่มเติมคลิ๊กเลย : Adobe เปิดตัว Photoshop Elements 2023 และ Premiere Elements 2023 เพื่อมือใหม่โดยเฉพาะ