ยกเครื่องทีวีบูรพาสู่ “TVBG” เปลี่ยนหุ้น-ปรับทิศ-เพิ่มธุรกิจ

นายกฤษณพล พงศ์ธนาวรานนท์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ทีวีบูรพา จำกัด เปิดเผยว่า ปีนี้ทีวีบูรพาเข้าสู่ปีที่ 21 หรือกำลังก้าวสู่ทศวรรษที่ 3

ออกแบบ โดยเป็นปีที่มีการเปลี่ยนแปลงหลายด้าน ตั้งแต่ผู้ถือหุ้นที่เข้ามาใหม่ทั้งหมด โดยตนเข้ามาถือหุ้นหลักแทน พี่เช็ค-สุทธิพงษ์ ธรรมวุฒิ ที่ได้เกษียณตัวเองออกไปเมื่อปีก่อน และหันไปดูเรื่อง มูลนิธิทีวีบูรพา เป็นหลัก ส่วนโครงสร้างบุคลากรบริษัทก็มีการปรับตัวด้วยเช่นกัน จาก 120 คน เหลือ 60 คน ขณะที่โครงสร้างธุรกิจจะเพิ่มเข้ามาเสริมทัพอีก 2 ธุรกิจ รวมเป็น 3 ธุรกิจ “ในปี 2665 ที่ผ่านมาบริษัทสามารถทำตัวเลขได้เพิ่มขึ้นกว่า 50% ด้วยการวางแผนงานปรับรูปแบบคอนเทนต์และบริการให้ตรงตามความต้องการของตลาดมากขึ้น และได้เตรียมเดินทางเข้าสู่ทศวรรษที่ 3 ในชื่อใหม่ TVBG หรือ TV Burabha Group พร้อมสโลแกน Think very big วางแผนปรับโครงสร้างบริษัทให้กระชับและคล่องตัวมากขึ้น ทั้งยังสานต่อสายสัมพันธ์ผู้ผลิตคอนเทนต์ในเครือข่ายที่ TVBG ร่วมลงทุน พร้อมเปิดตัวกลยุทธ์การดำเนินงานในอนาคต ต่อยอดวิชันจาก DNA People Stories Inspiring the world ที่แข็งแกร่งมาตลอด 20 ปี ขยายสู่ 3 กลุ่มธุรกิจใหม่ ตั้งเป้าเติบโตสิ้นปีนี้เพิ่มขึ้น 50%” แผนการดำเนินงานในปี 2566 นั้น ประกอบด้วย 3 กลุ่มธุรกิจ คือ 1. TVBG Content Farm ปรับเปลี่ยนและขยายรูปแบบคอนเทนต์ให้หลากหลาย ครอบคลุมทุกแพลตฟอร์มมากขึ้นทั้งออฟไลน์และออนไลน์ พร้อมเพิ่มคอนเทนต์ใหม่ๆ ภายใต้ DNA เดิม ซึ่งส่วนของรายการโทรทัศน์อย่าง รายการคนค้นฅน ออกอากาศทางช่อง 9 MCOT HD ได้เพิ่มเรื่องราวและการนำเสนอที่น่าสนใจมากขึ้น พร้อมกับต่อยอดเป็นคอนเทนต์ใหม่ๆ ให้หลากหลายมากกว่าเดิม และส่วนของออนไลน์คอนเทนต์ได้มีการเติมเฉดสีใหม่ๆ ให้กับคอนเทนต์ของ TVBG ด้วยการต่อยอดจาก Original Content สู่ความสนุกที่หลากหลาย ตอบโจทย์ทุกความสนใจ และ Lifestyle ในปัจจุบัน และน่าสนใจมากยิ่งขึ้นผ่าน YouTube Channel : TVBurabha Official โดยปัจจุบันมีรายการทางทีวีเพียง 1 รายการ คือ คนค้นฅน และทางออนไลน์ผ่านทางยูทูบอีกนับสิบรายการ ซึ่งปีนี้จะมีเพิ่มเข้ามาอีกอย่างน้อย 4 รายการ2. TVBG special Project – นำเสนอโปรเจกต์ในรูปแบบใหม่ๆ ที่ทุกคนคาดไม่ถึง พร้อมเดินทางสู่ตลาดโลก

ยกเครื่องทีวีบูรพาสู่ “TVBG” เปลี่ยนหุ้น-ปรับทิศ-เพิ่มธุรกิจ

ซึ่งจะเป็นลายมือใหม่ที่จะทำให้ได้เห็นตัวตนของ TVBG ในแง่มุมใหม่ โดยแบ่งออกเป็นโครงการขนาดใหญ่ที่หลากหลาย เผยแพร่ผ่านแพลตฟอร์มต่างๆ

ทั้งออนแอร์และออนกราวนด์ โดยเฉพาะคอนเทนต์ในสายงานศิลปะ (Art Community) ข่าวออกแบบ และกลุ่มคอนเทนต์ด้านซีรีส์และภาพยนตร์ระดับเวิลด์คลาส โดยร่วมมือกับพาร์ตเนอร์แพลตฟอร์มสตรีมมิ่งระดับสากล กิจกรรมสร้างสรรค์สังคมในอนาคต เพื่อมุ่งสร้างประสบการณ์ที่ดี (Immersive Experience) ให้แก่ผู้ชม 3. TVBG Lab – จากพื้นฐานประสบการณ์และความเชี่ยวชาญในการสื่อสารอย่างสร้างสรรค์ เรามุ่งมั่นในการเชื่อมสัมพันธ์ลูกค้า ชุมชน และสังคม เพิ่มโอกาสธุรกิจใหม่กับเครือช่าย พันธมิตรและนักลงทุน เพื่อร่วมสร้างธุรกิจที่ยั่งยืน โดยยึดมั่นหลักในการดำเนินกิจการทางธุรกิจควบคู่ไปกับคอนเทนต์เพื่อความสุขและเพื่อสังคม “คอนเทนต์หลักจะอยู่ในกลุ่ม TVBG Content Farm และอีก 2 ธุรกิจใหม่ที่จะมาต่อยอดการเติบโตของ TVBG ในอนาคต โดย TVBG special Project จะเป็นการจับมือพาร์ตเนอร์ทำคอนเทนต์ซีรีส์ หนัง หรือสารคดี ลงบนแพลตฟอร์มสตรีมมิ่ง ปีนี้วางไว้ 1-2 เรื่อง รวมถึงอีเวนต์อีกบางส่วน และ TVBG Lab จะเป็นการต่อยอดสู่รูปแบบผลิตภัณฑ์ เจาะรีเทล เช่น ปีนี้จะมีเปิดร้านกาแฟอบอนโซ่ และบ้านนาคาเฟ่ เป็นต้น” นายกฤษณพล กล่าวต่อว่า หลังผ่านสถานการณ์โควิดมา หากมองในธุรกิจเดิมก็อยู่ได้แต่ไม่โต จึงต้องมองหาธุรกิจใหม่ๆ เข้ามาต่อยอด ซึ่งปีนี้น่าจะใช้งบลงทุนรวมไม่ต่ำกว่า 100-150 ล้านบาท ขณะที่รายได้วางไว้ที่ 400 ล้านบาท แบ่งเป็น TVBG Content Farm 60% TVBG special Project 30% และ TVBG Lab 10% ซึ่งมองว่า 3 ปีนับจากนี้ TVBG Lab จะก้าวขึ้นมาเป็นธุรกิจหลักที่มีสัดส่วนรายได้ไม่ต่ำกว่า 40-45% ได้ ซึ่งตัวบริษัทเองยังมั่นใจถึงการเติบโต และวางเป้าหมายที่จะเข้าตลาดหลักทรัพย์ภายในปี 2570 อีกด้วย “ทีวีบูรพามีการเปลี่ยนแปลงและปรับตัวมาตั้งแต่ก่อนโควิด ทั้งในเรื่องของผู้ถือหุ้น โครงสร้างบริษัท และคอนเทนต์ ขณะที่รายได้ก่อนโควิดนั้นทำได้ถึง 250 ล้านบาท ส่วนช่วงโควิด 2 ปีที่ผ่านมาเหลือประมาณ 150 ล้านบาทต่อปี สำหรับในปี 2566 นี้มั่นใจว่ากลุ่มธุรกิจเดิม หรือกลุ่ม TVBG Content Farm จะกลับมาที่ 250 ล้านบาทอีกครั้ง และมีกำไรสุทธิไม่ต่ำกว่า 35.37 ล้านบาท แต่หากรวมทั้ง 3 กลุ่มธุรกิจแล้ว คาดว่าจะทำได้ราว 400 ล้านบาท” นายกฤษณพลกล่าว

แนะนำข่าวออกแบบ อ่านเพิ่มเติมคลิ๊กเลย : Meta Spark กระตุ้นครีเอเตอร์ไทยไป AR รองรับ 700 ล้านผู้ใช้ทั่วโลก