‘สช.’ ตั้งคณะทำงานวางระบบช่วยแม่พิมพ์ร.ร.เอกชน ขอ ‘ตั๋วครูชั้นสูง’

เมื่อวันที่ 31 มกราคม นายมณฑล ภาคสุวรรณ์ เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (กช.) เปิดเผยว่า ในการประชุมคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (กช.)

การศึกษา ที่มี น.ส.ตรีนุช เทียนทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เปิดประธานเมื่อเร็วๆ นี้ ที่ประชุมเห็นชอบ ร่าง ประกาศคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการอุดหนุนเป็นค่าอาหารกลางวันของนักเรียน พ.ศ. … เป็นการปรับปรุงเพื่อให้สอดคล้องกับมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2565 ที่ผ่านมา ที่อนุมัติให้ปรับเพิ่มค่าอาหารกลางวันให้แก่นักเรียนระดับชั้นเด็กเล็ก ถึง ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในอัตราตามขนาดของโรงเรียน โดยแบ่งเป็น 4 ระดับ ดังนี้ โรงเรียนที่มีจำนวนนักเรียน 1 – 40 คน ใช้เงินค่าอาหารกลางวัน 36 บาท/คน/วัน, โรงเรียนที่มีจำนวนนักเรียน 41 – 100 คน ใช้เงินค่าอาหารกลางวัน 27 บาท/คน/วัน, โรงเรียนที่มีจำนวนนักเรียน 101 – 120 คน ใช้เงินค่าอาหารกลางวัน 24 บาท/คน/วัน และ โรงเรียนที่มีจำนวนนักเรียน 121 – คนขึ้นไป ใช้เงินค่าอาหารกลางวัน 22 บาท/คน/วัน เพื่อให้นักเรียนได้รับอาหารกลางวัน และสารอาหารที่ครบถ้วน เพียงพอต่อความต้องการ แต่ในส่วนของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช.) มีโรงเรียนที่หลากหลาย จำเป็นที่จะต้องออกประกาศเพื่อกำหนดขนาดของโรงเรียนให้ชัดเจน นายมณฑล กล่าวต่อว่า นอกจากนี้ ประกาศฉบับดังกล่าว ได้ปรับการดำเนินงานให้สอดคล้องกับสภาพการทำงานในปัจจุบัน จากเดิมการเบิกจ่ายค่าอาหารกลางวันให้โรงเรียนเอกชน จะดำเนินการผ่านสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (สพท.) แต่ปัจจุบันเรามีศึกษาธิการจังหวัด (ศธจ.) แล้ว

‘สช.’ ตั้งคณะทำงานวางระบบช่วยแม่พิมพ์ร.ร.เอกชน ขอ ‘ตั๋วครูชั้นสูง’

ดังนั้น ในประกาศฉบับใหม่ ก็จะปรับการเบิกจ่ายเงินอุดหนุนอาหารกลางวันไปที่ ศธจ.​เพื่อให้ ศธจ.กระจายให้โรงเรียนเอกชนในพื้นที่ต่อไป

ทั้งนี้ สช.จะดำเนินการปรับแผนการใช้จ่ายงบประมาณเพื่อนำเงินมาสนับสนุนค่าอาหารกลางวัน ข่าวการศึกษา ให้นักเรียนในสังกัด สช. ตามประกาศฉบับใหม่ต่อไป เบื้องต้น สช.จะต้องเพิ่มเงินอุดหนุนอาหารกลางวัน ตามอัตราใหม่ที่ ครม.อนุมัติ ประมาณ 103 ล้านบาท เลขาธิการ กช. กล่าวเพิ่มเติมว่า รัฐมนตรีว่าการ ศธ. ฝากให้ สช. ไปดูเรื่อง ใบประกอบวิชาชีพครู เพราะตามข้อบังคับคุรุสภา ว่า ด้วยใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ พ.ศ.2565 ที่แบ่งใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่ครู เป็น 3 ระดับ คือ ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูชั้นต้น และใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูชั้นสูง ที่อาจจะกระทบกับโรงเรียนเอกชน เนื่องจาก ข้อบังคับคุรุสภา กำหนดไว้ว่า ผู้ที่ยื่นคำขอมีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพชั้นสูง ได้จะต้องเป็นผู้มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู และมีวิทยฐานะตั้งแต่ระดับชำนาญการ หรือเทียบเท่าขึ้นไป ก่อนวันที่ข้อบังคับนี้ใช้บังคับ ซึ่งส่งผลกระทบกับครูโรงเรียนเอกชน เพราะครูเอกชน ไม่มีวิทยฐานะเหมือนกับครูของรัฐ “ที่ผ่านมาผมได้หารือกับ นางอมลวรรณ วีระธรรมโม เลขาธิการคุรุสภาแล้ว ซึ่งทางคุรุสภาได้เสนอแนวทางและแนะนำให้ สช.ไปพิจารณาวางเกณฑ์ใหม่ โดยให้ดูว่าควรจะมีเกณฑ์ใดบ้างที่จะทำให้ครูเอกชนสามารถนำไปเทียบระดับชำนาญการของครูรัฐได้ ซึ่ง สช.ได้ตั้งคณะทำงานเพื่อวางระบบประเมินให้ครูเอกชน เพื่อให้ครูเอกชนสามารถนำผลประเมินนี้ ไปเทียบกับระบบวิทยฐานะและยื่นขอใบอนุญาตประกอบวิชาชีพชั้นสูงได้ ” นายมณฑล กล่าว

แนะนำข่าวการศึกษา อ่านเพิ่มเติมคลิ๊กเลย : ตร.จัดกิจกรรม ‘ฉีดวัคซีนไซเบอร์’ นักเรียนสวนกุหลาบ แนะขั้นตอนคนร้ายล่อลวงเหยื่อ